วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

พระวิศวะกรรม เทวดาแห่งสถาปนิก และ หัตถศิลป์







แนวที่ 1


พระวิศวกรรม
พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว



ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ
คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในพระไตรปิฎก(อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์




ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี




แนวที่ 2


กาลครั้งหนึ่ง...นานมาแล้ว..."ยังมีปราสาทสีแดง ดังศิลาแลง งดงามเด่นแซง แหล่งเมืองชมพู... วิษณุเทพเทวัญ ดังบิดรอัน ทุกคนผูกพัน มั่นในวิญญาณ์... เทพองค์นี้ให้เราเกิดมา รักงานทางช่างกว้างไกล..." บทเพลงประจำคณะ ที่นิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ทุกคนต้องร้องได้เพลงนี้ รวมถึงชื่อค่าย "วิษณุบุตร" ของกิจการนิสิต หรือแม้แต่ชื่อทีมกีฬาบุคลากรของคณะวิศวฯ บางปีที่ใช้ว่าทีม "วิษณุ" แสดงให้เห็นว่ายังมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "ครูช่าง" ที่แท้จริงของชาววิศวฯ คนไทยเรารู้จักคุ้นเคยชื่อพระวิษณุกันดี ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน ๓ เทพองค์สำคัญของศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้เราเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเทพแห่งวิศวกรรมคือพระวิษณุแต่ความจริงแล้ว เทพแห่งวิศวกรรม คือ "พระวิศวกรรมา" ที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "พระวิศวกรรม" หรือเรียกตามความคุ้นเคย(ซึ่งพ้องกับชื่อของพระวิษณุ)ว่า "พระวิษณุกรรม" บ้าง หรือเรียกแผลงเป็น "พระเพชฉลูกรรม" บ้าง "ท้าววิสสุกรรม" บ้าง หรือ "ท้าวเวสสุกรรม" บ้าง ฯลฯการที่คนไทยเราเรียกพระวิศวกรรมา ว่า "พระวิษณุกรรม" และในที่สุดก็กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยเรารู้จักมักคุ้นกันมากกว่า ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี่เอง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวฯ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกล่าวสำหรับ เทพแห่งวิศวฯ ตัวจริง คือ พระวิศวกรรมา หรือพระวิษณุกรรม นั้น ท่านเป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่มีความชำนาญงานช่างทุกแขนง ในตำนานพุทธศาสนาเล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์(หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา) นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้[๑]ส่วนตามตำนานฮินดู พระวิศวกรรมาก็มีผลงานเด่นๆ สรรค์สร้างไว้มากมาย เช่น ครั้งหนึ่ง ธิดานางหนึ่งของท่าน ชื่อว่านางสัญชญา เป็นชายาของพระอาทิตย์ บ่นให้พระวิศวกรรมาผู้เป็นพ่อฟังว่า พระอาทิตย์สามีของตนนั้นช่าง "ร้อนแรง" เหลือเกิน เข้าใกล้ไม่ค่อยได้ พระวิศวกรรมาสงสารลูกสาว จึงช่วยเหลือ โดยไปขูดผิวพระอาทิตย์ออกเสียบางส่วน ทำให้ความร้อนแรงนั้นทุเลาลงไปบ้าง และผิวพระอาทิตย์อันมีรัศมีเจิดจ้าที่ขูดออกมาได้นั้น พระวิศวกรรมาได้นำไปรังสรรค์-ปั้น-แต่ง แล้วถวายให้เป็นอาวุธทรงอานุภาพและมีประกายแวววาวแก่เทพองค์สำคัญของสวรรค์ชั้นฟ้า ได้แก่ อาวุธ "ตรีศูล" (สามง่าม) ของพระอิศวร "จักราวุธ" (กงจักร) ของพระนารายณ์ "วชิราวุธ" (สายฟ้า)[๒] ของพระอินทร์ "คทาวุธ" (กระบอง) ของท้าวกุเวร และ "โตมราวุธ" (หอก) ของพระขันทกุมาร เป็นต้น[๓]ผลงานอื่น ๆ ของท่านที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เป็นผู้สร้างกรุงลงกาให้แก่ทศกัณฐ์ในเรื่องมหากาพย์รามายณะ สร้างกรุงทวารกาให้แก่พระกฤษณะ(ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์)ในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ สร้างวิมานให้แก่พระวรุณ(เทพแห่งน้ำ)และพระยม(เทพแห่งความตาย) สร้างราชรถบุษบกเป็นพาหนะให้แก่ท้าวกุเวร[๔] เป็นผู้ปั้นนางติโลตตมา นางฟ้าที่สวยที่สุดนางหนึ่งบนสวรรค์[๕] (สวยจนทำให้พระอินทร์ผู้ปรารถนาเห็นนางติโลตตมาอย่างจุใจ กลายเป็น "ท้าวสหัสนัยน์" มีดวงตา ๑,๐๐๐ ดวง และทำให้พระพรหมผู้ปรารถนาเห็นนางติโลตตมาจากทุกด้าน กลายเป็น "ท้าวจตุรพักตร์" มี ๔ หน้า) ฯลฯผลงานเด่นอันสุดท้ายที่ใคร่อยากนำเสนอในที่นี้ ก็คือ "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์ จากผลงานสรรค์สร้างที่ปรากฏมากมายนี้เอง เทพองค์นี้จึงได้ชื่อว่า "วิศวกรรมา[๖]" ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "ผู้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง" (the "Universal Doer") คือเป็น "นายช่างแห่งจักรวาล" นั่นเองตำนานฮินดูกล่าวว่า พระวิศวกรรมา มีพระเนตร ๓ ดวง มีกายสีขาว ทรงอาภรณ์สีเขียว โพกผ้า มือถือคทา แต่ไทยนิยมวาดหรือปั้นรูปพระวิศวกรรมา ทรงชฎา มือถือจอบหรือผึ่ง (เครื่องมือสําหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายจอบ แต่มีด้ามสั้นกว่า) และลูกดิ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางช่างอย่างชัดเจน พวกช่างชาวฮินดูจะประกอบพิธีบูชาบวงสรวงพระวิศวกรรมา เพื่อขอพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานกัน ในวันที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ฤกษ์ภัทรบท ในวันนี้ พวกช่างจะงดใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางช่างทุกชนิด พวกเขามีความเชื่อว่าพระวิศวกรรมาจะเข้ามาสถิตในใจ และดลบันดาลให้พวกตนมีความคิดความอ่านที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่ดี มีคุณภาพอยู่เสมอชาวไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการสืบทอดประเพณีบางอย่างมาจากอินเดีย ซึ่งนับถือว่าพระวิศวกรรมาเป็นเทพแห่งช่าง เป็นผู้สรรค์สร้าง หรือเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดการสรรค์สร้างประดิษฐกรรมต่าง ๆ ในโลก เราจึงบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศ "ENGINEERING" ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งช่าง ใช้ในภาษาไทยว่า "วิศวกรรมศาสตร์" หมายถึง "ศาสตร์ที่มีพระวิศวกรรมา(เทวดาแห่งช่าง)เป็นครู"หวังว่า ท่านที่อ่านเรื่องนี้จนจบแล้ว จะทราบที่มาพร้อมทั้งความหมายของคำว่า "วิศวกรรมศาสตร์" และมีความเข้าที่ถูกต้องว่า เทพแห่งวิศวกรรมที่จริงแล้ว คือ "พระวิศวกรรมา" หรือ "พระวิษณุกรรม" (ไม่ใช่พระวิษณุ เฉย ๆ) นะครับ




เขียนโดย...อาจารย์ ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1 ความคิดเห็น:

  1. รับก่อสร้าง ปรับปรุง ต่อเติม บ้าน อาคาร สำนักงาน โกดังโรงงาน ทุกชนิด
    โดยช่างผู้ชำนาญงาน ทั้ง งานโครงสร้าง คอนกรีต งานไฟฟ้า ประปา สุขาภิบาล อลูมิเนียม ฝ้าเพดน
    งานเหล็ก งานสแตนเลส งานเฟอร์นิเจอร์ งานสี ทุกชนิด
    มีประสบการณ์การก่อสร้าง ทั้งอาคาร งานบ้าน งานโกดัง โรงงาน
    มีวิศวะกรที่ปรึกษา ราคาไม่แพง ลองโทรมาคุยกันดูก่อนก็ได้ครับ
    ติดต่อคุณ ภาณกาจ ถือธงชัย (ต่อง) 089-179-1335
    http://home-panakaj.blogspot.com/
    อีเมล์ tong_index@yahoo.co.th

    ตอบลบ