


แนวที่ 1
พระวิศวกรรม
พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว
พระวิศวกรรม หรือเรียกได้อีกหลายชื่อว่า พระวิษณุกรรม พระวิสสุกรรม พระเวสสุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม เป็น เทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์ ตามตำนานกล่าวว่า เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา
พระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆจากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย เป็นผู้นำวิชาช่าง มาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้
ช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยเรามักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน โดยนิยมสร้างอยู่สองท่า คือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือ ผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือ ดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก
ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่า หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว
ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ พระวิษณุกรรม และ พระวิษณุ
คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในพระไตรปิฎก(อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์
คนไทยเรียกพระวิศวกรรมว่า 'พระวิษณุกรรม' และในที่สุดได้กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยรู้จักกันในฐานะหนึ่งใน ๓ เทพสำคัญของศาสนาฮินดู อันได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน
ในพระไตรปิฎก(อรรถกถา) กล่าวว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เช่นในพระเวสสันดรชาดก เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ (หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา)นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้
"กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรม เป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์
ขอขอบคุณ วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แนวที่ 2
กาลครั้งหนึ่ง...นานมาแล้ว..."ยังมีปราสาทสีแดง ดังศิลาแลง งดงามเด่นแซง แหล่งเมืองชมพู... วิษณุเทพเทวัญ ดังบิดรอัน ทุกคนผูกพัน มั่นในวิญญาณ์... เทพองค์นี้ให้เราเกิดมา รักงานทางช่างกว้างไกล..." บทเพลงประจำคณะ ที่นิสิตวิศวฯ จุฬาฯ ทุกคนต้องร้องได้เพลงนี้ รวมถึงชื่อค่าย "วิษณุบุตร" ของกิจการนิสิต หรือแม้แต่ชื่อทีมกีฬาบุคลากรของคณะวิศวฯ บางปีที่ใช้ว่าทีม "วิษณุ" แสดงให้เห็นว่ายังมีการเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "ครูช่าง" ที่แท้จริงของชาววิศวฯ คนไทยเรารู้จักคุ้นเคยชื่อพระวิษณุกันดี ในฐานะที่เป็นหนึ่งใน ๓ เทพองค์สำคัญของศาสนาฮินดู ได้แก่ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ทำให้เราเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเทพแห่งวิศวกรรมคือพระวิษณุแต่ความจริงแล้ว เทพแห่งวิศวกรรม คือ "พระวิศวกรรมา" ที่คนไทยเรานิยมเรียกสั้น ๆ ว่า "พระวิศวกรรม" หรือเรียกตามความคุ้นเคย(ซึ่งพ้องกับชื่อของพระวิษณุ)ว่า "พระวิษณุกรรม" บ้าง หรือเรียกแผลงเป็น "พระเพชฉลูกรรม" บ้าง "ท้าววิสสุกรรม" บ้าง หรือ "ท้าวเวสสุกรรม" บ้าง ฯลฯการที่คนไทยเราเรียกพระวิศวกรรมา ว่า "พระวิษณุกรรม" และในที่สุดก็กร่อนลงเหลือเพียง 'พระวิษณุ' ซึ่งเป็นชื่อของเทพที่คนไทยเรารู้จักมักคุ้นกันมากกว่า ดังที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นนี่เอง ทำให้หลายคนเข้าใจว่าพระวิษณุเป็นเทพแห่งวิศวฯ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกล่าวสำหรับ เทพแห่งวิศวฯ ตัวจริง คือ พระวิศวกรรมา หรือพระวิษณุกรรม นั้น ท่านเป็นทั้งสถาปนิกและวิศวกรที่มีความชำนาญงานช่างทุกแขนง ในตำนานพุทธศาสนาเล่าว่า ท่านเป็นผู้สร้างอาศรมให้แก่พระโพธิสัตว์หลายพระองค์(ก่อนที่จะอุบัติเป็นพระพุทธเจ้า) เป็นผู้สร้างบันไดเงิน บันไดทอง บันไดแก้ว ทอดจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ลงมายังโลกมนุษย์ที่เมืองสังกัสสนคร ซึ่งเป็นเส้นทางที่พระพุทธเจ้าใช้เสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์(หลังจากเสด็จขึ้นไปโปรดพุทธมารดาบนสวรรค์ในช่วงเข้าพรรษา) นอกจากจะเป็นสถาปนิกและเป็นวิศวกรด้านโยธาและสำรวจ ดังจะเห็นได้จากผลงาน ๒ ประการที่ว่านี้แล้ว พระวิศวกรรมายังเป็นวิศวกรเครื่องกลอีกด้วย กล่าวคือ ท่านเป็นผู้สร้างวาฬสังฆาตยนต์ ซึ่งเป็นกงล้อหมุนรอบองค์พระสถูป ปกปักรักษาป้องกันมิให้บุคคลเข้าใกล้พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เมื่อครั้งที่พระเจ้าอชาตศัตรูได้รับส่วนแบ่งพระบรมสารีริกธาตุหลังพุทธปรินิพพานและอัญเชิญไปประดิษฐานไว้ในองค์พระสถูปที่ว่านี้[๑]ส่วนตามตำนานฮินดู พระวิศวกรรมาก็มีผลงานเด่นๆ สรรค์สร้างไว้มากมาย เช่น ครั้งหนึ่ง ธิดานางหนึ่งของท่าน ชื่อว่านางสัญชญา เป็นชายาของพระอาทิตย์ บ่นให้พระวิศวกรรมาผู้เป็นพ่อฟังว่า พระอาทิตย์สามีของตนนั้นช่าง "ร้อนแรง" เหลือเกิน เข้าใกล้ไม่ค่อยได้ พระวิศวกรรมาสงสารลูกสาว จึงช่วยเหลือ โดยไปขูดผิวพระอาทิตย์ออกเสียบางส่วน ทำให้ความร้อนแรงนั้นทุเลาลงไปบ้าง และผิวพระอาทิตย์อันมีรัศมีเจิดจ้าที่ขูดออกมาได้นั้น พระวิศวกรรมาได้นำไปรังสรรค์-ปั้น-แต่ง แล้วถวายให้เป็นอาวุธทรงอานุภาพและมีประกายแวววาวแก่เทพองค์สำคัญของสวรรค์ชั้นฟ้า ได้แก่ อาวุธ "ตรีศูล" (สามง่าม) ของพระอิศวร "จักราวุธ" (กงจักร) ของพระนารายณ์ "วชิราวุธ" (สายฟ้า)[๒] ของพระอินทร์ "คทาวุธ" (กระบอง) ของท้าวกุเวร และ "โตมราวุธ" (หอก) ของพระขันทกุมาร เป็นต้น[๓]ผลงานอื่น ๆ ของท่านที่สำคัญ ๆ ได้แก่ เป็นผู้สร้างกรุงลงกาให้แก่ทศกัณฐ์ในเรื่องมหากาพย์รามายณะ สร้างกรุงทวารกาให้แก่พระกฤษณะ(ซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์)ในเรื่องมหากาพย์มหาภารตะ สร้างวิมานให้แก่พระวรุณ(เทพแห่งน้ำ)และพระยม(เทพแห่งความตาย) สร้างราชรถบุษบกเป็นพาหนะให้แก่ท้าวกุเวร[๔] เป็นผู้ปั้นนางติโลตตมา นางฟ้าที่สวยที่สุดนางหนึ่งบนสวรรค์[๕] (สวยจนทำให้พระอินทร์ผู้ปรารถนาเห็นนางติโลตตมาอย่างจุใจ กลายเป็น "ท้าวสหัสนัยน์" มีดวงตา ๑,๐๐๐ ดวง และทำให้พระพรหมผู้ปรารถนาเห็นนางติโลตตมาจากทุกด้าน กลายเป็น "ท้าวจตุรพักตร์" มี ๔ หน้า) ฯลฯผลงานเด่นอันสุดท้ายที่ใคร่อยากนำเสนอในที่นี้ ก็คือ "กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร ฯ มหาสถาน อมรพิมานอวตารสถิต สักกะทัตติยวิษณุกรรมประสิทธิ์" หมายถึง กรุงเทพมหานคร เมืองแห่งเทวดานั้น พระวิษณุกรรมเป็นผู้สร้าง ตามพระบัญชาของพระอินทร์ จากผลงานสรรค์สร้างที่ปรากฏมากมายนี้เอง เทพองค์นี้จึงได้ชื่อว่า "วิศวกรรมา[๖]" ซึ่งมีความหมายตามรูปศัพท์ว่า "ผู้ทำทุกสิ่งทุกอย่าง" (the "Universal Doer") คือเป็น "นายช่างแห่งจักรวาล" นั่นเองตำนานฮินดูกล่าวว่า พระวิศวกรรมา มีพระเนตร ๓ ดวง มีกายสีขาว ทรงอาภรณ์สีเขียว โพกผ้า มือถือคทา แต่ไทยนิยมวาดหรือปั้นรูปพระวิศวกรรมา ทรงชฎา มือถือจอบหรือผึ่ง (เครื่องมือสําหรับถากไม้ชนิดหนึ่ง รูปร่างคล้ายจอบ แต่มีด้ามสั้นกว่า) และลูกดิ่ง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ทางช่างอย่างชัดเจน พวกช่างชาวฮินดูจะประกอบพิธีบูชาบวงสรวงพระวิศวกรรมา เพื่อขอพรให้ตนเองประสบความสำเร็จในหน้าที่การงานกัน ในวันที่พระอาทิตย์ย้ายเข้าสู่ฤกษ์ภัทรบท ในวันนี้ พวกช่างจะงดใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางช่างทุกชนิด พวกเขามีความเชื่อว่าพระวิศวกรรมาจะเข้ามาสถิตในใจ และดลบันดาลให้พวกตนมีความคิดความอ่านที่จะสร้างสรรค์ผลงานใหม่ๆ ที่ดี มีคุณภาพอยู่เสมอชาวไทยได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมและการสืบทอดประเพณีบางอย่างมาจากอินเดีย ซึ่งนับถือว่าพระวิศวกรรมาเป็นเทพแห่งช่าง เป็นผู้สรรค์สร้าง หรือเป็นผู้ดลบันดาลให้เกิดการสรรค์สร้างประดิษฐกรรมต่าง ๆ ในโลก เราจึงบัญญัติศัพท์ภาษาต่างประเทศ "ENGINEERING" ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งช่าง ใช้ในภาษาไทยว่า "วิศวกรรมศาสตร์" หมายถึง "ศาสตร์ที่มีพระวิศวกรรมา(เทวดาแห่งช่าง)เป็นครู"หวังว่า ท่านที่อ่านเรื่องนี้จนจบแล้ว จะทราบที่มาพร้อมทั้งความหมายของคำว่า "วิศวกรรมศาสตร์" และมีความเข้าที่ถูกต้องว่า เทพแห่งวิศวกรรมที่จริงแล้ว คือ "พระวิศวกรรมา" หรือ "พระวิษณุกรรม" (ไม่ใช่พระวิษณุ เฉย ๆ) นะครับ
เขียนโดย...อาจารย์ ดร.ชนินทร์ วิศวินธานนท์ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้าคณะวิศวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย